เมนู

แห่งวชิระอันจะหมุนเวียน 3 รอบ แก่ท่านพระโสณะนั้น จึงตรัส
มีอาทิว่า ดูก่อนโสณะ เธอสำคัญข้อนั้นเป็นอย่างไร ? โสณสูตรที่ 2
มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
จบ อรรถกถาโสณสูตรที่ 7-8

9. นันทิขยสูตรที่ 1



ว่าด้วยการสิ้นความยินดีเป็นเหตุหลุดพ้นจากทุกข์



[103] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ความเห็น
ของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ย่อมเบื่อหน่าย เพราะ
สิ้นความยินดี จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัด จึงสิ้นความยินดี
เพราะสิ้นความยินดีและความกำหนัด จิตหลุดพ้นแล้ว เรียกว่าหลุดพ้น
ดีแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นเวทนาอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่า
ไม่เที่ยง ฯลฯ เห็นสัญญาอันไม่เที่ยงนั่นแหละว่าไม่เที่ยง ฯลฯ เห็นสังขาร
อันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ฯลฯ เห็นวิญญาณอันไม่เที่ยงนั่นแหละ
ว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ
ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความยินดี จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้น
ความกำหนัด จึงสิ้นความยินดี เพราะสิ้นความยินดีและความกำหนัด
จิตหลุดพ้นแล้ว เรียกว่าหลุดพ้นดีแล้ว.
จบ นันทิขยสูตรที่ 1

10. นันทิขยสูตรที่ 2



ว่าด้วยการสิ้นความยินดีเป็นเหตุหลุดพ้นจากทุกข์



[104] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทำไว้ในใจซึ่งรูปโดยอุบายอันแยบคาย
และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป ตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุ
ทำไว้ในใจซึ่งรูปโดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
แห่งรูป ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในรูป เพราะสิ้นความยินดี
จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัด จึงสิ้นความยินดี เพราะ
สิ้นความยินดีและความกำหนัด จิตหลุดพ้นแล้ว เรียกว่า หลุดพ้นดีแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทำไว้ในใจซึ่งเวทนาโดยอุบายอัน
แยบคาย ฯลฯ ซึ่งสัญญาโดยอุบายอันแยบคาย ฯลฯ ซึ่งสังขารโดยอุบาย
อันแยบคาย ฯลฯ ซึ่งวิญญาณโดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็น
ความไม่เที่ยงแห่งวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุทำไว้ในใจซึ่ง
วิญญาณโดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่ง
วิญญาณตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณ เพราะสิ้น
ความยินดี จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัด จึงสิ้นความยินดี
เพราะสิ้นความยินดีและความกำหนัด จิตหลุดพ้นแล้ว เรียกว่า หลุดพ้นดีแล้ว.
จบ นันทิขยสูตรที่ 2
จบ อัตตทีปวรรคที่ 5